โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
เว็บ Blog ประกอบการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ส 23102 ส 23104 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ทักษะพื้นฐานการเรียนรู้ 10 ประการ สำหรับการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 โรงเรียน Worl Class Standrad School คุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ผู้สอน

วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ข้อบกพร่องของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

ข้อบกพร่องของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

        เราทราบแล้วว่าการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เป็นการค้นหาความจริงทางประวัติศาสตร์ โดยใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์หรือความจริงที่ผ่านมาแล้ว งานวิจัยทางด้านนี้มักจะพบข้อบกพร่องที่สำคัญคือ
        7.1 ปัญหาหรือเรื่องที่จะทำการวิจัยเป็นเรื่องที่กว้างเกินไป
        7.2 มักใช้ข้อมูลชั้นรองมากกว่าข้อมูลชั้นต้น
        7.3 ข้อมูลมีไม่เพียงพอ คือผู้วิจัยไม่สามารถแสวงหาข้อมูลมาสนับสนุนผลสรุปได้อย่างเพียงพอ
        7.4 การคัดเลือกข้อมูลไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจเกิดจากผู้วิจัยขาดประสบการณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลไม่ดีพอ ทำให้ข้อมูลที่ได้มาไม่น่าเชื่อถือ ไม่ถูกต้อง และไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ นอกจากนี้อาจเกิดจากผู้วิจัยมีอคติ หรือความลำเอียงในการคัดเลือกข้อมูลอีกด้วย
        7.5 การวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักตรรกศาสตร์บกพร่อง คือ
            1) สรุปผลหรือยอมรับข้อเท็จจริงด้วยเหตุผลที่ง่ายเกินไป ทั้ง ๆ ที่มีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสรุปผลอย่างนั้น
            2) ตีความหมายของคำหรือเรื่องราวต่าง ๆ ในข้อมูลผิด
            3) การขยายความคลุมกว้างเกินไปทั้ง ๆ ที่มีข้อมูลไม่เพียงพอ
            4) ไม่สามารถแยกหาประเด็นสำคัญ ๆ ของข้อเท็จจริงได้
        7.6 การวิจารณ์หรือประเมินคุณค่าของข้อมูลไม่เพียงพอ
        7.7 ผู้วิจัยมักจะมีความลำเอียงส่วนตัวเกี่ยวกับลัทธิการเมือง เชื้อชาติ ศาสนา ทำให้มีแนวโน้มที่จะเขียนรายงานคลาดเคลื่อนไป
        7.8 การเขียนรายงานการวิจัยมักขาดการวิเคราะห์ วิจารณ์ และเขียนในรูปแบบที่ไม่ชวนศึกษา เช่น ใช้ภาษากำกวม เขียนเล่นสำนวน วกวน หรือเสริมแต่ง ตลอดจนมีลักษณะเกลี้ยกล่อมให้เชื่อเกินไป ซึ่งวิธีการเขียนดังกล่าวนี้ทำให้น้ำหนักของความเชื่อถือลดน้อยลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Selaphumpittayakom School

Selaphumpittayakom School