- สภาพเศรษฐกิจในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมัยรัชกาลที่ 4 นั้น พระราชกรณียกิจทางการบริหารประเทศอันดับแรกที่
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงกระทำเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ คือ การลดภาษีสินค้าขาเข้า การอนุญาตให้ส่งข้าวเป็นสินค้าออกได้ และการค้าฝิ่นโดยผ่านระบบเจ้าภาษี การทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับอังกฤษ หลังทำสนธิสัญญาเบาว์ริงแล้ว ระบบเศรษฐกิจของไทยเริ่มเปลี่ยนแปลงจากเศรษฐกิจแบบยังชีพไปสู่เศรษฐกิจแบบเงินตรากับนานาประเทศ
การค้าขายขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางโดยใช้เงินตราเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน
สนธิสัญญาเบาว์ริง
สาระสำคัญของสัญญาเบาว์ริงทางเศรษฐกิจ1. คนในบังคับอังกฤษหรือชาติต่างๆ ทำการค้าได้โดยเสรี
2.ยกเลิกภาษีเบิกร่องหรือค่าปากเรือ โดยให้เก็บภาษีขาเข้าร้อยละ 3 แทน อนุญาตให้
นำฝิ่นเข้ามาโดยไม่ต้องเสียภาษี แต่จะต้องขายให้กับผู้ผูกขาดการค้าฝิ่นในเมืองไทยเท่านั้น
3.ไทยอนุญาตให้ส่งข้าวเป็นสินค้าออกได้ ยกเว้นในปีที่ทำนาไม่ได้ผล 4.สินค้าออกให้เก็บเป็นภาษี
" ขาออกอย่างเดียว
5.ให้ไทยตั้งโรงภาษีหรือศุลกากร เพื่อทำการตรวจสินค้าต่างๆ ที่นำขึ้นมาจากเรือ และลงเรือเพื่อเก็บภาษีขาเข้าหรือขาออกแล้วแต่กรณีสนธิสัญญาเบาว์ริงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทางเศรษฐกิจของไทยอยู่หลายประการ คือ
1.การเปลี่ยนแปลงระบบการค้า ไทยยกเลิกวิธีการค้าแบบพระคลังสินค้าให้มีการค้าอย่างเสรี
2.การเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจ การผลิตหลังจากที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจของไทยเปลี่ยนจากเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตนเอง เป็นระบบเศรษฐกิจเพื่อการค้า
3.การเปลี่ยนแปลงด้านภาษีอากร ไทยต้องยกเลิกการค้าแบบผูกขาด
4.การขยายตัวทางเศรษฐกิจอื่นๆ มีบริษัทและร้านค้าที่ชาวต่างชาติขอเปิดขึ้น
มากมายในกรุงเทพฯ เช่น บริษัท บอร์เนียว จำกัด บริษัท เรมีเดอมองตินยี จำกัด หรือโรงแรมสมัยใหม่
เช่น โฮเตลฟอลด์ เป็นต้น
5.การพัฒนาประเทศเพื่อรองรับความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ ได้แก่
5.1 การตัดถนน ถนนสายแรกคือ ถนนเจริญกรุง ฝรั่งเรียกว่า นิวโรด (New Road)ต่อมา
ได้ตัดถนนเพิ่มขึ้นอีกหลายสาย เช่น ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื้องนคร ถนนพระรามที่ 4 นนสีลม
5.2 การขุดคลอง พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองผดุงเกษม เพื่อใช้เป็นแนว
ป้องกันพระนครชั้นนอกและเพื่อสะดวกในการคมนาคม คลองมหาสวัสดิ์ คลองเจดีย์บูชา คลองดำเนินสะดวก เพื่อสะดวกในการคมนาคม ขนส่งสินค้าระหว่างกรุงเทพฯกับหัวเมืองใกล้เคียง
การปฏิรูปเงินตราสมัยรัชกาลที่ 4
สมัยรัชกาลที่ 4 ระบบการค้าเริ่มขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ระบบเศรษฐกิจแบบ
เงินตรามีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากการขาดแคลนเงินตราในการซื้อขาย แลกเปลี่ยน เงินตราที่ใช้อยู่ทั่วไปคือ เบี้ย ซึ่งเป็นหอยชนิดหนึ่งได้มาจากหมู่เกาะมาลดีบในมหาสมุทรอินเดีย แต่อัตราแลกเปลี่ยนเบี้ยในท้องตลาดไม่ค่อยจะคงตัว โดยปกติจะอยู่ราว 800 เบี้ย ต่อ 1 เฟื้อง นอกจากนี้ก็มีการใช้เงินพดด้วง เป็นลักษณะก้องกลมมีตราประทับบนตัวด้วง เงินตราทั้ง 2ชนิดไม่เหมาะกับการค้าสมัยใหม่เพราะ เบี้ยแตกง่าย เงินพดด้วงก็ปลอมได้ง่ายและผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการครั้งเมื่อพ่อค้าต่างชาตินำเงิน
เหรียญสเปน หรือเหรียญเม็กซิโกเข้ามาใช้ ก็ไม่มีใครยอมรับ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อ
การค้าขายมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหานี้ชาวต่างประเทศถึงกับแนะนำให้รัฐบาลไทยเลิกใช้
เงินบาท โดยพ่อค้าเหล่านั้นจะผลิตเงินบาทเข้ามาใช้เอง แต่รัชกาลที่ 4 ไม่ทรงเห็นด้วยเพราะจะเป็นโอกาสให้มีเหรียญปลอมระบาดมากขึ้น
การแก้ปัญหาของรัชกาลที่ 4 ในเรื่องนี้ คือมีพระราชดำริที่จะเลิกใช้เงินพดด้วงซึ่ง
ทำด้วยมือซึ่งผลิตได้ช้าไม่ทันการมาใช้เงินเหรียญที่ผลิตจากเครื่องจักรแทน โดย ซื้อเครื่องจักรมาจากต่างประเทศ เริ่มมีการผลิตเงินเหรียญเป็นครั้งแรกในปีพ.ศ.2403 และตั้งแต่นั้นมามีการผลิตเงินเหรียญในชนิดและอัตราต่างๆออกมา
ในปีพ.ศ.2405 โปรดเกล้าฯให้ผลิตเหรียญดีบุกขึ้น2 ชนิด คือ อัฐมีราคา 8 อันต่อ
1 เฟื้อง และโสฬส มีราคา 16 อันต่อ 1 เฟื้อง
ปีพ.ศ.2406 โปรดเกล้าฯให้มีการผลิตเหรียญทองมีอัตราต่างกันตามลำดับ ดังนี้
คือ ทศราคาอันละ 8 บาท พิศราคาอันละ 4 บาทและพัดดึงส์ราคาอันละ 10 สลึง
ปี พ.ศ.2408 โปรดเกล้าฯให้ผลิตเหรียญทองแดง 2 ชนิดคือ ซีกมีราคา 2 อันต่อ
1 เฟื้อง และเซี่ยว(ปัจจุบันเรียก เสี้ยว) มีราคา 4 อันต่อ 1 เฟื้อง
โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ รัชกาลที่4 โปรดเกล้าฯให้มีประกาศแจ้งให้ราษฎรได้ทราบ
และชักชวนให้ราษฎรมาใช้เงินเหรียญชนิดต่างๆที่ผลิตขึ้น
นอกจากเงินเหรียญชนิดต่างๆ แล้วรัฐยังได้พิมพ์ธนบัตรที่เป็นกระดาษคล้ายกับ
ปัจจุบันด้วยสมัยนั้น เรียกว่า “หมาย”มีราคาตั้งแต่เฟื้อง จนถึง 1 บาท ผู้ที่เป็นเจ้าของหมายจะได้รับเงินก็ต่อเมื่อนำหมายดังกล่าวนั้นไปขึ้นเงินที่พระคลังมหาสมบัติ แต่ราษฎรไม่เห็นประโยชน์จากการใช้กระดาษเป็นเครื่องแลกเปลี่ยน การใช้หมายดังกล่าวจึงไม่แพร่หลาย
การตั้งโรงงานกระษาปณ์เพื่อผลิตเหรียญตรา ในปีพ.ศ.2403 ในขั้นแรกเป็นวิธีการ
ที่รัฐพยายามที่จะ แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น แต่ผลที่ตามมานอกเหนือจากนั้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบเงินตรา ซึ่งถือได้ว่าเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและการค้า เพราะการซื้อขายแลกเปลี่ยนด้วยเงินตราในระบบใหม่ที่สะดวกกว่าระบบเก่า ย่อมจะทำให้ การค้าระหว่างประเทศขยายตัว ปริมาณการหมุนเวียนของสินค้ามีมากขึ้นตามไปด้วย
การปรับปรุงเศรษฐกิจในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2411-2453)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปเศรษฐกิจ ดังนี้
1.การปฏิรูปด้านการคลัง รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้น
ในปี พ.ศ.2416 ในพระบรมมหาราชวัง ทำหน้าที่รับผิดชอบรวบรวมเงินภาษีอากร ทุกชนิดนำส่งพระคลังมหาสมบัติ ทำบัญชีรวบรวมผลประโยชน์ ตรวจตราการเก็บ ภาษีอากรของหน่วยราชการต่างๆ ให้เรียบร้อยรัดกุม รับผิดชอบการจ่ายเงินเดือนในอัตราที่แน่นอนให้กับข้าราชการฝ่ายพลเรือนและทหาร
เฉพาะในส่วนกลางแทนการจ่าย เบี้ยหวัดและเงินปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น